หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556




พระรอดจากกรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน เชื่อกันว่าสร้างในยุคสมัยพระนางจามเทวีกษัตรีย์ที่ไปจากกรุงโว้
ไปครองเมืองลำพูนเมื่อประมาณ ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว ตามตำนานที่ยึดถือกันนั้นกล่าวไว้ว่า พระนางจามเทวี
ได้สร้างพระอารามที่เมืองลำพูนไว้ ๔ มุมเมืองเมื่อพ.ศ.๑๒๒๓ อันมีวัดพระคง วัดประตูลี้ วัดดอนแก้ว
และวัดมหาวัน วัดทุกวัดที่กล่าวนามมานี้ เป็นกรุพระสกุลลำพูนชนิดต่างๆแต่เฉพาะที่วัดมหาวันนั้นนอกจาก
เป็นที่ขึ้นของพระลำพูนหลายชนิดแล้ว ยังพบเพชรเม็ดเอกของพระลำพูนอีกด้วยนั่นคือ พระรอด
กรุวัดอื่นนอกจากวัดมหาวันไม่พบพระรอดร่วมสมัยเดียวกันเลย พระรอดนั้นบางท่านก็มีความเห็นโต้แย้งว่า
ไม่น่าจะสร้างในยุคพระนางจามเทวี แต่น่าจะสร้างในยุคของพระเจ้าอาทิตยราช ศิลปะพระรอด
บางท่านว่าเป็นศิลปะทวาราวดี บ้างก็ว่าเป็นศิลปะขอม ลพบุรี ในช่วงพุทธศตวรรษที่๑๖
แม้ความเห็นในเชิงประวัตศาสตร์จะไม่ยุติ แต่อย่างน้อยสุดประมาณ๗-๘ ร้อยปีขึ้นไป
ยังไม่พบนักวิชาการท่านใดที่มีทฤษฎีว่าพระรอดมีอายุน้อยกว่านี้
พระรอดวัดมหาวัน มาตรฐานที่เล่นหากันในวงการพระเครื่องมี ๕พิมพ์คือ
๑.พิมพ์ใหญ่(ก้นพับ)
๒.พิมพ์กลาง(ก้นแมลงสาบ)
๓.พิมพ์เล็ก(ก้นตัด)
๔.พิมพ์ต้อ(องค์เตี้ยกว่าพิมพ์อื่น)
๕.พิมพ์ตื้น(ผนังโพธิ์และองค์พระจะตื้น)น่าจะเกิดจากพิมพ์ไม่สะอาด
พระรอดพิมพ์เล็กแยกเป็น5แบบสังเกตจากทรงพระเศียรและวงพระพักตร์(หน้า)ทรงรูปไข่
ทรงสี่เหลี่ยม ทรงเศียรบาตร ทรงสามเหลี่ยม และทรงกลม จากในรูปที่นำเสนอเป็นพระพักตร์แบบทรงรูปไข่
เป็นพิมพ์ทรงที่สวยที่สุดในบรรดาพิมพ์เล็กเจ้าของเดิมได้นำองค์พระรอดไปลงรัก
จากร่องรอยคราบรักที่เหนือและใต้หัวเข่าขวาขององค์พระรอด ส่วนอื่นๆมองไม่เห็นคราบรักเกาะอยู่
จากสภาพการหลุดร่อนของคราบรักบริเวณผิวขององค์พระจนสะอาดน่าจะเกินกว่า100ปี
สนใจโทรติดต่อ 0850379165

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

พระรอดวิธีการดูเหมือนวิธีการดูพระคง ทุกพิมพฺ์จะมีจุดที่ตรวจสอบ(ตำหนิ)เหมือนกันครับ เห็นควรว่าผู้ศึกษาจะต้องมีพระแท้เป็นของตัวเองเป็นอย่างแำรกสุด